พระธาตุดอยตุง เมื่อนักท่องเที่ยวหลายๆคนนึกถึงเชียงรายขึ้นมา นักท่องเที่ยวจำนวนมากมายเหล่านั้น ก็มักจะเลือกนึกถึงพระธาตุดอยตุงเป็นสถานที่แรกๆ ที่พวกเขาอยากจะไปเที่ยว ไปสัมผัส และไปเก็บบรรยากาศ รวมถึงสักการะบูชาพระธาตุดอยตุงกันสักครั้งในชีวิต
เนื่องจากว่าพระธาตุดอยตุงเป็นโบราณสถาน ที่มีความเป็นมายาวนานและน่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นพระธาตุที่เป็นที่เลื่อมใส และได้รับการสักการะบูชาทั้งจากคนภายในเมืองเชียงราย และทั้งจากนักท่องเที่ยวทั่วไป ไปจนถึงพุทธศาสนิกชนเป็นจำนวนมาก เพราะสำหรับพระธาตุดอยตุงนั้นถือว่าเป็นโบราณสถานเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือ และเป็นโบราณสถานเก่าแก่ของเชียงราย ที่มีผู้คนทั่วไปให้ความสนใจ และยังถือว่าพระธาตุดอยตุงเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของชาวปีกุนอีกด้วย
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่พระธาตุดอยตุงจะได้รับความนิยม จากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยในแต่ละปีทุกๆวันจะมีนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศ แวะเวียนมาเที่ยวพระธาตุดอยตุง ทั้งมาสักการะบูชา และมาเพื่อเก็บภาพพระธาตุดอยตุง โบราณสถานที่เก่าแก่แห่งนี้กลับไปตลอดทั้งวันกันเป็นจำนวนมาก
โดยตามตำนานได้มีการเล่าถึงพระธาตุดอยตุงเอาไว้ว่า พระธาตุดอยตุงได้ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงสมัยของพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ในเวลานั้น (ในปัจจุบันเมืองโยนกนาคพันธุ์ก็คืออำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย) โดยในตอนนั้นเองมีพระมหากัสสปะ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (พระรากขวัญคือส่วนของกระดูกไหปลาร้า) มาถวายให้แก่พระเจ้าอชุตราช พระเจ้าอชุตราชจึงได้โปรดให้สร้างเจดีย์ เพื่อเอาไว้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ จากนั้นพระเจ้าอชุตราชจึงได้สั่งให้ทำตุง(ตุงคือธง) โดยตุงนี้มีความยาวทั้งสิ้น 1,000 วาปักลงบนยอดเขา โดยได้บอกเอาไว้ว่าหากตุงที่ปักเอาไว้นี้ ปลิวไปถึงที่สถานที่ใดก็ให้กำหนดเอาว่าตรงนั้นเป็นฐานของพระเจดีย์
ต่อมาในช่วงสมัยพญามังรายแห่งราชวงศ์มังราย ได้มีพระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวายอีกเป็นจำนวนทั้งสิ้น 50 องค์ พญามังรายจึงได้สั่งให้สร้างองค์พระเจดีย์ขึ้นอีกองค์ โดยให้สร้างเอาไว้ใกล้กับพระเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีองค์พระเจดีย์สององค์มาจวบจนถึงอย่างทุกวันนี้
สำหรับพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงรายนั้น เป็นองค์พระธาตุที่มีรูปแบบและสถาปัตยกรรมการก่อสร้าง เป็นไปตามแบบศิลปะของเชียงแสนย่อมุมไม้สิบสอง โดยจะมีความคล้ายคลึงกันกับองค์พระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ที่พระธาตุดอยตุงนี้ได้เคยขาดการบูรณปฏิสังขรณ์และการดูแลที่ดี อยู่หลายต่อหลายครั้งมาเป็นเวลานาน อันเนื่องมาจากว่าเมืองเชียงรายได้เคยถูกทิ้งร้างอยู่หลายหน จึงทำให้ตัวพระธาตุดอยตุงในช่วงเวลาหนึ่งมีความทรุดโทรมและพังทลายลง ทำให้ต่อมาในช่วงปีพุทธศักราช 2470 องค์พระธาตุดอยตุงซึ่งในตอนนั้นได้มีความชำรุดและทรุดโทรมลงเป็นอย่างมากมาก ครูบาเจ้าศรีวิชัยกับประชาชนชาวเมืองเชียงรายในเวลานั้น จึงได้ร่วมกันบูรณะองค์พระธาตุดอยตุงขึ้นมาใหม่ โดยได้ทำการสร้างเจดีย์ที่มีรูปทรงองค์เป็นเหมือนระฆังขนาดเล็กสององค์ ที่ได้สร้างไว้บนฐานแปดเหลี่ยมตามศิลปะแบบล้านนา
ในส่วนของการบูรณะพระธาตุดอยตุงครั้งหลังสุดนั้น ได้มีขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2516 โดยกระทรวงมหาดไทยได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครอบองค์พระเจดีย์องค์เดิมเอาไว้ แต่ในเวลาต่อมากรมศิลปากรได้ทำการรื้อถอนองค์พระธาตุที่ได้สร้างครอบของเดิม เมื่อครั้งที่ครูบาศรีวิชัยและชาวบ้านได้ช่วยกันบูรณะออก โดยให้นำองค์พระธาตุที่สร้างมาครอบที่ถูกถอดออกมา ไปตั้งไว้ที่วัดพระธาตุน้อยดอยตุง ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ช่วงบริเวณด้านล่างก่อนขึ้นดอยตุง และได้ทำการบูรณะพระธาตุองค์เดิมให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิม อีกทั้งยังได้จัดให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบริเวณโดยรอบให้มีความสวยงาม มีถนนขึ้นมายังพระธาตุดอยตุงได้สะดวกขึ้นอย่างในปัจจุบัน สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจจะเที่ยวชมพระธาตุดอยตุง หรือต้องการขึ้นไปกราบสักการะพระธาตุดอยตุง สามารถขึ้นไปกราบสักการะพระธาตุดอยตุงได้ แต่จะต้องระมัดระวังในการใช้เส้นทางพอสมควร เพราะมีทางขึ้นที่แคบ ชัน และคดเคี้ยวอันตราย ดังนั้นท่านสามารถเรียกใช้บริการทัวร์พระธาตุดอยตุง กับบริษัทเชียงรายทัวร์ได้ ซึ่งเรามีบริการและแพกเกจทัวร์พระธาตุดอยตุงให้ท่านได้เลือกใช้บริการ หลากหลายโปรแกรมเลยทีเดียว
ขอบคุณค่ะ Line ID : 55fon หรือ Tel. 086-827-9309 ...... ฝนค่ะ ( Sale & Tour Operator )เที่ยวพระธาตุดอยตุงได้ทุกวัน กับผู้เชี่ยวชาญตัวจริง บริษัท เชียงรายทัวร์ www.ChiangRai-tour.com
|